รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประจำปี พ.ศ. 2560
ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์และการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
-----
กรมทางหลวงชนบท

----------------------------------------------------------
 
แผนยุทธศาสตร์กรมทางหลวงชนบทได้กำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจนโดยถอดมาเป็นแผนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ทั้งในระยะยาว ระยะกลาง และระยะสั้น รวมถึงการคาดการณ์อัตรากำลังและองค์ความรู้ที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการบรรลุซึ่งเป้าหมายของยุทธศาสตร์นั้น เป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นกับการบริหารจัดการของกรมทางหลวงชนบท จากความร่วมมือร่วมแรง ร่วมใจของบุคลากรในการร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมกันกำหนดแผนพัฒนาทางหลวงชนบทจากพื้นที่นำสู่แผนใหญ่ในระดับกรม อีกทั้ง การสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และได้รับความคิดเห็นที่เป็นมุมมองใหม่ๆ จากภายนอก นำมาซึ่งประโยชน์ต่อกรมทางหลวงชนบทในการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงท้องถิ่นที่นำพาคุณภาพชีวิตที่ดีมาสู่ประชาชนในพื้นที่
 
----------------------------------------------------------
 
ผลงานที่โดดเด่นจากยุทธศาสตร์กรมทางหลวงชนบท
 
สืบเนื่องจากกรมทางหลวงชนบทมีโครงข่ายสายทางในความดูแลรับผิดชอบประมาณ47,500 กิโลเมตร ดังนั้น ในการเก็บข้อมูลของสายทางจำนวนมากเพื่อนำมาใช้ในการจัดทำแผนงานและแผนยุทธศาสตร์ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุน
 
โดยกรมได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีระบu Mobile Mapping System ชนิด Image Processing เพื่อสำรวจข้อมูลทรัพย์สินภายในเขตทางหลวงและพื้นที่รอบข้างซึ่งจะทำงานด้วยกล้องวีดีโอที่ติดตั้งบนรถยนต์เคลื่อนที่ และอุปกรณ์รับตำแหน่งทรัพย์สินจากสัญญาณดาวเทียม สามารถตรวจจับและวัดระยะของทรัพย์สินภายในเขตทางหลวง ทำให้ได้ข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญต่อการจัดทำแผน เช่น ข้อมูลพื้นฐานของสายทางและสะพาน ป้ายจราจร ราวกันอันตราย เครื่องหมายจราจรบนผิวทาง เสาไฟฟ้าข้างทาง เป็นต้น
 
ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการวิ่งรถจะถูกจัดเก็บไว้ในระบบบริหารจัดการโครงข่ายทางหลวงชนบท (Rural Road Network Management: RM) ที่จะแสดงผลออกเป็นภาพมุมกว้าง 360 องศา (Panoramic Image) รวมทั้งมีรายละเอียดของสายทาง (Road Inventory) และแผนที่ประกอบ (Base Map) ซึ่งข้อมูลในระบบ RM ก็จะถูกดึงข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อสนับสนุนภารกิจต่างๆ เช่น การจัดทำแผนงาน การบริหารจัดการเขตทาง การตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นนี้ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนในอนาคตได้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ดังภาพที่ 7
 
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
 
 

ติดต่อเรา

หมายเลขโทรศัพท์
สถาบันพระปกเกล้า
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ฝั่งทิศใต้ เลขที่ 120 หมู่ 3
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง
เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210