รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประจำปี พ.ศ. 2561
ด้านการนำองค์การและความรับผิดชอบต่อสังคม
-----
จังหวัดศรีสะเกษ

----------------------------------------------------------
 
จังหวัดศรีสะเกษขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัด ผ่านระบบการนำองค์การของผู้บริหารทุกระดับในการส่งเสริม สนับสนุนการบูรณาการความร่วมมือกันทั้งการดำเนินการ การแลกเปลี่ยนข้อมูลและสมรรถนะของภาคีเครือข่ายที่ข้มแข็ง ในรูปแบบ "กลไกประชารัฐ" ผ่านวัฒนธรรมองค์การ "ทำงานแบบบูรณาการร่วมกับส่วนราชการอื่นและภาคเอกชนได้อย่างมีเอกภาพ" จนเกิดเป็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน เช่น โครงการนาแปลงใหญ่ โครงการทุเรียนภูเขาไฟ ศรีสะเกษโมเดลสยบยาเสพติด เป็นต้น
 
----------------------------------------------------------
 
จังหวัดศรีสะเกษ มีพื้นที่ทั้งหมด 5,524,987.5 ไร่ และมีประชากรทั้งสิ้น 1,472,031 คน ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษได้ รับการขนานนามว่าเป็น ดินแดนมหัศจรรย์เพราะนอกจากเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพมาตรฐาน หอม-กระเทียมพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตมากที่สุดของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นจังหวัดที่รวมผลไม้คุณภาพแทบทุกชนิดจากทุกภาคของไทย จึงทำให้อาชีพหลักของประชาชนกว่าร้อยละ 70 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากมีพื้นดินอุดมสมบูรณ์ที่ได้รับความเย็นชุ่มชื้นจากแนวป่าบนเทือกเขาพนมดงรัก เหมาะอย่างยิ่งสำหรับสวนไม้ผลซึ่งคิดเป็นพื้นทางการเกษตรทั้งสิ้น 3,506,418 ไร่ ทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจของจังหวัดศรีสะเกษขึ้นอยู่กับภาคเกษตร ภาคการขายส่งขายปลีก เป็นสำคัญ 
 
อีกทั้งจังหวัดศรีสะเกษยังมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชาและมีจุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำซึ่งเป็นจุดผ่านแดนถาวรที่เป็นเส้นทางสำคัญในการท่องเที่ยว การค้า การลงทุน ทำให้ศรีสะเกษมีศักยภาพในการเป็น "เมืองเศรษฐกิจชายแดน" สามารถเชื่อมโยงการค้า การท่องเที่ยวและการลงทุนกับกัมพูชา
 
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
 

ติดต่อเรา

หมายเลขโทรศัพท์
สถาบันพระปกเกล้า
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ฝั่งทิศใต้ เลขที่ 120 หมู่ 3
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง
เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210