รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี พ.ศ. 2562
ระดับดีเด่น ประเภทสัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม
-----
จังหวัดสตูล


ก้าวสู่อุทยานธรณีโลกด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน
จังหวัดสตูล (Global Geoparks)

จังหวัดสตูลมีความโดดเด่นด้านธรณีวิทยา รวมถึงวัฒนธรรม โบราณสถาน และนิเวศวิทยา มีความโดดเด่นทั้งด้านความหลากหลายของซากดึกดำบรรพ์สัตว์ทะเลที่ค้นพบ และความหลากหลายของชั้นหินยุคเก่าแก่ รวมทั้งสภาพภูมิประเทศหินปูนที่มีความสวยงามระดับโลก 

ต่อมาจึงได้มีการประกาศจัดตั้งอุทยานธรณีสตูล (Satun Geopark) ซึ่งเป็นอุทยานธรณีระดับจังหวัดในปี พ.ศ. 2557 และด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องจึงพัฒนาจน ได้รับการประกาศเป็นอุทยานธรณีระดับประเทศในปีพ.ศ. 2559 (ยูเนสโก) แห่งแรกในประเทศไทย และแห่งที่ 5 ของอาเซียน ด้วยการประกาศให้เป็นอุทยานธรณีโลก (UNESCO Global Geopark)


ผลสำเร็จจากการดำเนินการ
 
  1. การได้รับการประกาศรับรองจัดตั้งให้เป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก ทำให้จังหวัดสตูลและแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีของจังหวัดมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง 
  2. คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น ประชาชนมีความรัก สามัคคีกัน มีความสุขโดยรวมกลุ่มจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน เพื่อผลิตสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว ในเขตพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูลและผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว 
  3. ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยมีรายได้จากการท่องเที่ยว ในปี พ.ศ. 2560 - 2561 จำนวน 8,168,70 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 9,100.47 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.42 (ที่มา : กรมการท่องเที่ยว, 2561)
  4. การใช้ประโยชน์ทรัพยากร ธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมและภูมิใจในท้องถิ่นที่ตนอาศัย ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอุทยานธรณีมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความรัก ความหวงแหน มรดกทางธรณีวิทยา มรดกทางวัฒนธรรม 

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
 


ติดต่อเรา

หมายเลขโทรศัพท์
สถาบันพระปกเกล้า
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ฝั่งทิศใต้ เลขที่ 120 หมู่ 3
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง
เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210