รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี พ.ศ. 2563
ระดับดีเด่น ประเภทรางวัลเลื่องลือขยายผล
-----
กรมชลประทาน
 


โครงการการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
ณ ฝ่ายแม่ลาวฝั่งขวา จังหวัดเชียงราย (ต้นแบบดอย)

ณ ดินแดนภาคเหนือจังหวัดเชียงรายมีเทือกเขาเหยียดยาว ก่อกำเนิดแหล่งต้นน้ำลำธารและเป็นที่มาของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ลาวซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่หลายภาคส่วนได้รับประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำซึ่งมีอ่างเก็บน้ำแม่สรวยเป็นแหล่งน้ำต้นทุนผันน้ำมายังฝายแม่ลาว จากฝายแม่ลาวจะมีระบบส่งน้ำคลองฝั่งขวาความยาว 49.48 กิโลเมตร แบ่งผู้รับน้ำเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่อาศัยอยู่ตันน้ำ กลางน้ำ และท้ายน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ 113,136 ไร่ ด้วยความกว้างใหญ่ของพื้นที่ทำให้กลุ่มท้ายน้ำขาดแคลนไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ และอีกหลายภาคส่วนขอใช้น้ำเพื่อปลูกพืชในฤดูแล้งมากกว่าแผนที่วางไว้เป็นจำนวนมากกว่าเท่าตัว จึงเกิดการแย่งชิงน้ำของมวลชนถึงขั้นทำร้ายร่างกายได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตก็มีให้เห็น รอยร้าวแห่งความแตกแยกระหว่างชุมชนกับชุมชนจาก

ปัญหาการแย่งน้ำใช้ที่เกิดขึ้นนำไปสู่การประกาศภัยแล้งในพื้นที่ชลประทาน เมื่อขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงทำให้ต่างฝ่ายต่างแย่งชิงผันน้ำเข้าสู่พื้นที่ของตนเองไม่เคารพกติกาที่กำหนดไว้ มีการทำมีท่อผีลักลอบสูบน้ำจากคลองส่งน้ำมองเห็นท่อในลักษณะที่รกรุงรัง อีกทั้งมีการบุกรุกปลูกข้าวโพดในคลองและคันคลอง และมีการกั้นฝายชั่วคราวเพื่อกักน้ำในลำน้ำนับสิบฝาย ต่างคนต่างมุ่งเอาน้ำโดยไม่คิดว่าคนอื่นจะขาดน้ำและได้รับผลกระทบปัญหาที่เกิดขึ้นหากปล่อยให้ยืดเยื้อต่อไปจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเพื่อเยียวยาปัญหาดังกล่าวทางชลประทานเชียงราย จึงได้นำแนวทางการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม ที่ได้ปรับรูปแบบมาจากงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มาใช้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการแย่งชิงน้ำในพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำดอยงู และสร้างเป็นต้นแบบ หรือดอยงูโมเดล


เกียรติภูมิ ความภาคภูมิใจแห่งความสำเร็จ

  • มีคณะกรรมการจัดการน้ำชลประทาน (JMC) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ ประกอบด้วยกลุ่มผู้ใช้น้ำกลุ่มพื้นฐาน 594 กลุ่ม และกลุ่มบริหาร 13 กลุ่ม และผู้เกี่ยวข้องครบทุกภาคส่วน สามารถกำหนดข้อตกลงร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายการบริหารจัดการน้ำอย่าง "เท่าเทียม ทั่วถึง และเป็นธรรม" โดยร่วมกันกำหนดปริมาณน้ำจัดสรรปรับแผนการส่งน้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำและพื้นที่ จากเดิมกลุ่มที่ 1-3 ได้รับน้ำรอบเวรละ 5 วันเท่ากัน เป็นกลุ่ม 1 รับน้ำ 3 วัน กลุ่ม 2 รับน้ำ 1 วันครึ่ง กลุ่ม 3 รับน้ำ 1 วันครึ่ง และหยุดส่งน้ำ 5 วัน ขณะที่หยุดส่งน้ำให้กลุ่มพื้นที่ต่าง ๆ จะมีการผันส่งน้ำให้กับการประปาและรักษาระบบนิเวศให้อุดมสมบรูณ์ และกำหนดพื้นที่รับน้ำด้วยธงเขียว ธงเหลือง และธงแดง เพื่อควบคุมมิให้มีผู้กระทำผิดข้อตกลง
  • ในฤดูการเพาะปลูก ผู้ใช้น้ำทุกกลุ่มได้รับน้ำตามเวลาและปริมาณที่ตกลงกันไว้ ทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น เกษตรกรสามารถปลูกพืชได้หลากหลายชนิดมากขึ้น และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 3,000 บาท/ไร่
  • ในฤดูแล้งสามารถส่งน้ำให้พื้นที่ฝายแม่ลาวฝั่งขวาทั้งหมด เพิ่มมากขึ้นจากแผนที่ตั้งไว้ถึงเกือบ 4 เท่า จาก 32,000 ไร่ ตามแผน สามารถเพาะปลูกได้จริงถึงเกือบ 120,000 ไร่
  • สามารถลดปัญหาความขัดแย้งที่รุนแรงในการแย่งชิงน้ำลงได้อย่างยั่งยืน ด้วยการมีองค์กรภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งมีพลัง และเป็นเอกภาพ

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
 


ติดต่อเรา

หมายเลขโทรศัพท์
สถาบันพระปกเกล้า
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ฝั่งทิศใต้ เลขที่ 120 หมู่ 3
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง
เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210