หลักคุณธรรมและจริยธรรม

VIRTUE AND ETHICS

วันที่เผยแพร่ 27 ธ.ค. 2561

หลักคุณธรรมและจริยธรรม


หลักคุณธรรมและจริยธรรม (Virtue and Ethics) โดย ศาสตราจารย์ ดร.อัมพร ธำรงลักษณ์  ซึ่งนำเสนอ  “หลักคุณธรรมและจริยธรรม”  คุณธรรมเป็นเรื่องของสภาพคุณงานความดีทางความประพฤติและจิตใจ สอดคล้องเป็นไปตามมาตรฐานความถูกต้อง เป็นสิ่งที่มีคุณค่า ประคับประคองใจให้เกิดจิตสำนึกที่ดี การนำเอาระบบคุณธรรมมาใช้ในการบริหารงานของประเทศต่าง ๆ นั้น ขึ้นกับสภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมนั้น
 
“จริยธรรม” หมายถึงหลักการที่คอยควบคุมการประพฤติ และการกระทำของคนเพื่อเป็นสิ่งถูก หรือที่เหมาะที่ควร ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น จริยธรรมเมื่อถูกนำมาใช้ในบริหารรัฐกิจหรือการบริหารงานภาครัฐ คือ กรอบในการควบคุมการทำงานของข้าราชการ เพื่อให้ข้าราชการทำงานโดยยึดโยงกับผลประโยชน์สุขของประชาชนเป็นสำคัญ
 
ในห้วงเวลาของการปฏิรูประบบราชการไทยที่ผ่านมา จริยธรรมได้ถูกนำมาเป็นประเด็นสำคัญในภาคบริหารรัฐกิจไทยนับตั้งแต่ ได้ตราพระราชบัญญัติการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี 2545 ในปี 2549 ได้ถูกบรรจุเป็นวาระแห่งชาติและถูกบรรจุลงไปในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 หลังจากนั้นสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนก็ได้มีการปรับหลักยุทธศาสตร์และทำแผนต่าง ๆ เพื่อบรรจุประเด็นดังกล่าวเข้าไปในโครงสร้าง ระเบียบ และหลักการต่างๆ ของหน่วยราชการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค หรือแม้แต่รัฐธรรมนูญในปัจจุบัน ก็ได้มีการบรรจุประเด็นเรื่องจริยธรรมเข้าเป็นประเด็นสำคัญในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะการกำกับการกระทำของทั้งนักการเมืองและข้าราชการเพื่อที่สนองตอบต่อผลประโยชน์ประชาชนได้ในที่สุด

และเพื่อควบคุมปัญหาเรื่องการคอร์รัปชันที่ยังคงมีอยู่ในวงการราชการ ซึ่งจะทำให้เงินภาษีของประชาชนไม่ได้ถูกใช้ไปเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง แต่ถึงกระนั้นปัญหาที่ตามมาของหลักการดังกล่าวมักจะเป็นเรื่องในเชิงปฏิบัติ เพราะในเชิงความคิดทฤษฎีนั้นค่อนข้างสมเหตุสมผล แต่พอในเชิงปฏิบัติมักจะมีปัญหาตามมาในเชิงรูปธรรมว่าการกระทำแบบไหนถึงจะเป็นการปฏิบัติที่ถูกจริยธรรม หรือหลักจริยธรรมแบบขึ้นบนฐานเจตนา หรือคิดบนฐานผลลัพธ์ของการกระทำ หลักจริยธรรมแบบไหนถึงจะเป็นหลักจริยธรรมพื้นฐานที่จะสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง

ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าหลักจริยธรรมได้ส่งผลอย่างมากต่อการรับรู้และการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงโครงสร้าง และการปฏิบัติของภาครัฐไทย แต่กระนั้น ก็ยังมีปัญหายังหาคำตอบไม่ได้ซึ่งการตอบดังกล่าวอาจนำพาไปสู่รูปแบบในเชิงรูปธรรมที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ในที่สุด 



ติดต่อเรา

หมายเลขโทรศัพท์
สถาบันพระปกเกล้า
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ฝั่งทิศใต้ เลขที่ 120 หมู่ 3
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง
เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210